วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553

The Shooting Party - Anton Chekhov


The Shooting Party - Anton Chekhov
ฆ่าปริศนาวันล่าสัตว์ - อันตัน เชคอฟ
กำพล นิรวรรณ แปล
สนพ. รหัสคดี

ต้นฉบับเขียนเมื่อ Jun 3 2009, 04:55 PM

เรื่องนี้เป็นการผสมผสานระหว่าง สาวน้อยแสนสวย, ท่านเคาน์ตผู้ร่ำรวย, ข้าราชการตุลาการหนุ่มเนื้อหอม, ลูกจ้างแสนซื่อ, หมอหนุ่ม, สาวสวยลูกผู้พิพากษา, นกแก้วปากมอม รวมตัวกับ กิเลส, ตัณหา, ริษยา, เหล้ายา และรักที่ไม่สมหวัง เกิดเป็นนิยายสืบสวนแนวไขปริศนาที่แปลกและแหวกแนวเรื่องหนึ่ง แม้จะไม่เรียกว่าสุดยอด เพราะส่วนหนึ่งเราพอเดาคนร้ายได้แต่ หากไม่นับว่านวนิยายเรื่องนี้เขียนมา 120 ปีแล้ว ผมก็ยังว่าการดำเนินเรื่องมีความทันสมัยไม่น้อย

เรื่องเริ่มต้นด้วยเมื่อปี 1880 อันตัน เชคอฟ ในตำแหน่ง บก. หนังสือพิมพ์พบกับ ชายคนหนึ่งที่ประสงค์จะเสนอนิยายให้ นสพ. จัดพิมพ์ เชคอฟ บอกชายคนนั้นว่าขอเวลาในการพิจารณา 2-3 เดือน หลังจากนั้นนานพอควร เชคอฟ เริ่มต้นอ่านนิยายเรื่องนี้แบบแก้เบื่อ (ตามเนื้อหาในนวนิยาย) โดยมีการ comment เป็นระยะๆ เริ่มด้วยการปรมาสเลยว่า นักเขียนคนนี้เป็นพวกมือใหม่หัดเขียน แต่ว่าเรื่องมีความแปลกใหม่ (น.19) หลังจากนั้นจะใช้วิธีแทรกความเห็นในหน้านั้นๆในรูปของเชิงอรรถความคิดเห็นส่วนตัว เช่น มีข้อความถูกตัด ("ตรงนี้ข้อความถูกลบออกไปเกือบหนึ่งหน้ากระดาษเต็ม เหลืออยู่ไม่กี่คำที่ยังพออ่านออก..... แล้วลงชื่อว่า อันตัน เชคอฟ" น.188) หรือคนเขียน ใช้คำไม่สุภาพประมาณนั้นจึงต้องมีการตัดเรื่องบ้าง (น.23) ซึ่งเชิงอรรถเหล่านี้ ช่วยประติประต่อเรื่องในช่วงที่เราถูกทำให้เชื่อว่าหายไป แต่ เชคอฟ เป็นคนเจอ แล้วนำกลับมาเสนอในรูปข้อคิดเห็นแทน ซึ่งบางอันเป็นความเห็นส่วนตัวของเชคอฟ ก็มี (".....ข้อความส่วนนี้ทั้งหมดเน้นให้เห็นความไร้เดียงสาจนเลยเถิดและไม่จริงใจ.....แล้วลงชื่อว่า อันตัน เชคอฟ" น.192) เชิงอรรถช่วงท้ายๆหลายอันเป็นการนำเสนอแบบผลของการสงสัยโดย เชคอฟเอง หรือจะพูดว่าเป็นการแก้ปริศนาด้วยเชคอฟเอง ก็ไม่ผิดซึ่งทำให้จังหวะของเรื่องบางทีเหมือนใช้ เชิงอรรถช่วยคุมจังหวะ หลังจากจบนิยายของชายคนดังกล่าว จึงเป็นบทที่ เชคอฟได้สนทนากับชายผู้เป็นคนเขียนอีกครั้งในเรื่องนวนิยายเรื่องนี้

จังหวะดำเนินเรื่องออก หนืดๆในช่วงแรกๆแต่ปูรายละเอียดตัวละครและสภาพแวดล้อมได้ดีมากๆ ซึ่งค่อนข้างสำคัญสำหรับการอ่านนิยายประเภทนี้ เนื่องว่าหากเราไม่เข้าใจตัวละครก่อน เราอาจไม่เข้าใจแรงจูงใจที่ขับเคลื่อนตัวละครแต่ละตัว ทำให้เรื่องอาจดูไม่สมจริงสำหรับเรา แม้ว่าจะเป็นเรื่องแต่งก็ตาม หลังจากจบการปูพื้นแล้ว จึงเริ่มการเร่งสปีดขึ้น (มีบอกในนิยายเลยด้วยว่าหลังจากนี้จะเร่งแล้ว เหอๆ "การโหมโรงเสร็จสิ้นลงแล้ว ต่อจากนี้ละครจะเปิดฉากแสดง" น.118) แบบเร็วขึ้นเร็วชึ้นเรื่อยๆ ยิ่งในบทสุดท้ายนั้น เหมือนกั้นหายใจในน้ำแล้วพรวดขึ้นมาทีเดียว ในเสี้ยวเวลานั้นทั้งสดชื่นและอึดอัดอย่างประหลาด ซึ่งผมรู้สึกเองว่าผมอ่านเหมือนลืมหายใจด้วยสปีดที่ค่อนข้างเร็วกว่าธรรมดา

นวนิยายเรื่องนี้เป็นนวนิยายที่ซ้อนด้วยนวนิยาย เปรียบเทียบง่ายๆว่าเหมือนอาคารหลังหนึ่ง นวนิยายเรื่องหลักคือชั้นที่ 1 (ที่เชคอฟกระทำเหมือนเป็นนวนิยายของใครสักคน) สิ่งที่ เชคอฟ ทำต่อไปคือสร้างชั้นใต้ดินที่มีบันไดเชื่อมที่ชัดเจน (เชิงอรรถ) ให้เราเดินลงไปดูได้เป็นระยะๆ (ที่เป็นความเห็นของ เชคอฟ ต่อตอนนั้นๆในนวนิยาย) แล้วซ่อนชั้นลอยอีกชั้น (ความเห็นของเราเองที่ป๊อปขึ้นมาหลังอ่าน ทั้งชั้น 1 และชั้นใต้ดิน) แต่คราวนี้บันไดเชื่อม ถูกซ่อนอยู่อย่างเนียบเนียน ให้เราหาเองแม้ไม่ยากในแง่เป้าหมาย แต่การตกแต่งภายในนั้นเป็นตามรสนิยมของแต่ละคน เหมือนสร้างตามออเดอร์ / อีกทั้งในรายละเอียดตัวละคร ก็มีมิติด้านสังคมที่หลากหลายดีทีเดียว จะเรียกว่า "ป๊อป" ของสมัยนั้นได้ไหม อึม.......

ผมเองเคยอ่านงานของ อันตัน เชคอฟ มาแค่ 2 เรื่องในชุดที่พิมพ์เนื่องในโอกาสยกย่องนักแปลท่านหนึ่ง ในชุดนั้นมีงาน เชคอฟ 2 เล่ม ของ โคซินสกี้ 1เล่ม อีกเล่มชื่อ จอห์นนี่ไปรบ จำชื่อคนแต่งไม่ค่อยได้ แต่ที่จำได้แน่ๆคือ ผมจำ 2 เรื่องหลังได้มากกว่าเพราะตื้นเต้นและเร้าใจกว่า (แต่ไม่ได้หมายความว่าดีกว่า เพราะอย่างที่เคยบอกมันเป็นสไตล์ของแต่ละคน) งาน 2 เล่มของ เชคอฟ จนมาถึงเล่มนี้ ผ่านมาอีกครั้งหลายปีต่อมา เล่มนี้ดูจะตื่นเต้นและเร้าใจที่สุดแล้ว (สำหรับผม) หลังจากอ่านงานของ เชคอฟ มา / ในบทแรกๆที่เป็นคำนำเสนอของ เรืองเดช จันทรคีรี ก็บอกเหมือนกันว่า " หากท่านอ่าน ฆ่าปริศนาวันล่าสัตว์ จบแล้วทึ่งในฝีมือของผู้ประพันธ์ละก็....กรุณากราบนวนิยายอายุ 120 ปีงามๆสักครั้ง " กราบเรียบร้อยเหอๆ เจ๋งจริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น