วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553

The God of Small Things - Arundhati Roy


The God of Small Things - Arundhati Roy
เทพเจ้าแห่งสิ่งเล็กๆ - อรุณธตี รอย / สดใส แปล
สนพ.มูลนิธิเด็ก

ต้นฉบับเขียนเมื่อ Apr 18 2009, 10:28 PM

"จริงๆแล้วมันเริ่มตั้งแต่เมื่อครั้งที่มีการกำหนดกฏเกณฑ์เรื่องความรัก กฏที่กำหนดว่าควรจะรักใคร รักอย่างไร และรักได้มากแค่ไหน"

นิยายเรื่องนี้ได้รางวัล booker prize ที่สำคัญเป็นผลงานชิ้นแรกจากนักเขียนหญิง สถาปนิกชาวอินเดียอีกต่างหาก / นิยายเรื่องนี้เป็นเรื่องของ ครอบครัวหนึ่งในชุมชนเล็กๆชุมชนหนึ่งในอินเดีย และครอบครัวยังถือว่ามีหน้ามีตาพอควรในชุมชนอีกด้วย เรื่องนี้ยังให้มุมมองแบบ 2ด้านในหลายๆตอน 2 ด้านในแง่คู่ตรงข้าม เช่น การเมืองแบบทุนนิยมกับสังคมนิยม, วรรณะสูง-ต่ำ, เพศชาย-หญิง, เด็กฝาแฝดไข่คนละฟอง ที่ต่างเพศต่างกัน, เด็กท้องถิ่นกับเด็กต่างชาติ และอีกหลายๆเรื่อง

- นิยายเรื่องนี้มีกรอบ และมีระบบที่แน่นอนอยู่ กรอบนั้นเพื่อกำหนดอาณาเขตอันแน่นอนให้ทั้งผู้อ่านและตัวละครได้ซึมซาบ / ระบบนั้นคือ วรรณะและวิธีการคิด รวมถึงการใช้เหตุผลของคนในชุมชน (ทั้งที่บ้านและโดยรอบ) ฉะนั้นมันจะบังเกิดความเฉพาะตัวขึ้น แต่จะว่ามันสะท้อนกลับไปหาโลกจริงๆได้หรือไม่ นั่นแล้วแต่ว่าเราใช้มาตรฐานใดคิด
(กรณีนี้คือ ลูกสะใภ้ชาวต่างชาติ(มาร์กาเรต โกจัมมา)แม้หย่าขาดจากลูกชายไปแล้ว ยังมีศักดิ์มากกว่าลูกสาวตัวเองที่หนีสามีมา)
(กรณีนี้คือ เหล่าหลานๆ(เอสธา และ ราเฮล)ที่พลอยรับกรรม (ผลจากการกระทำ)จากแม่ไปด้วย ศักดิ์ก็เลยต่ำกว่าหลานฝรั่ง(โซฟี โมล)

- สังคมในกรอบบ้านของนิยายเรื่องนี้ เป็นข้ออ้างแบบเข้าข้างตัวเองมาใช้กับคนอื่น มาตรฐานที่ปฎิบัติอย่างไม่เท่าเทียมกัน ทำให้เกิดแรงขับดันและแรงแย้งที่พร้อมจะระเบิดออกได้ทุกเมื่อ นี่คือสิ่งปกติของผู้ถูกกระทำอยู่แล้ว ยกตัวอย่างสำหรับชนชั้นกลาง ก็อย่างเจ้านายกดดันลูกน้องและเลือกปฏิบัติแบบ 2 มาตรฐาน
(กรณีนี้คือ ระหว่างลูกสาว(อัมมู)และลูกชาย(จักโก)ของแม่ผู้แก่ชรา(มัมมาจี)ที่ถูกปฏิบัติแบบสองมาตรฐานอย่างชัดเจนจากแม่)
(กรณีนี้คือ พ่อผู้แสนดีในสายตาของใครๆ [พ่อผู้แสนชั่วในสายตาคนใน] กับภรรยา [แม้จะสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจแค่ไหนก็ตาม])
(กรณีนี้คือ น้องเมียผู้ยึดติดอยู่ในภพของตัวเอง(เบบี้ โกจัมา) จนไม่สามารถรับสิ่งใดได้อีก อันเป็นเหตุให้สร้างมาตรฐานให้คนอื่นตลอดเวลา)

- ผมเป็นคนที่ชอบกินอาหารทะเลมากยิ่งพวกกุ้งแหละชอบสุดๆ มาวันหนึ่งผมไปทำงานแล้วพบว่าผมเป็นภูมิแพ้ ณ ขณะนั้น หมอว่ายังไม่แน่ใจว่าแพ้อะไร หมอว่าต้องอาศัยการสังเกตุ คำแรกที่หลุดมาคือ หมอว่าอาจเป็นอาหารทะเลจำพวกกุ้ง-ปู-หอยก็เป็นได้ ในหัวผมมีแต่คำถามว่า "ทำไมหลอกให้กรูกินแล้วให้กรูชอบมาตั้ง 20 ปี เพื่อมาบอกกรูวันหนึ่งว่า กินไม่ได้แล้ว" ผมยกตัวอย่างนี้เพื่อให้ภาพว่า อารมณ์ไม่ต่างจาก ตัวละครหลายตัวในเรื่องนี้เลย เหมือนถูกหลอกให้พบอิสระบางอย่างแล้วถูกห้าม ไม่ให้ไปยุ่งอีก ทุกข์ทั้งกายและใจ แบบที่เรื่องของผม แล้ว คูณเข้าไปหลายร้อยเท่า จนแทบนึกไม่ออกทีเดียว อย่างดีคงได้แค่เศษเสี้ยวของความทุกข์นั้น
(กรณีนี้คือ นางเอก (อัมมู) ในความเห็นผม เธอคือคนที่รับผลกระทบมากที่สุด ถึงแม้เธอไม่ได้จบนอกอย่างพี่ชาย หรืออย่างน้า แต่เธฮมีความคิดแบบตะวันตกมากทีเดียว เพราะเหตุนี้กระมังที่เธอทุกข์ที่สุด)
(กรณีนี้คือ เวลุธา จัณฑาลหนุ่ม ผู้รับผลนั้นแบบทันตาเห็น จริงๆแล้วคุณอาจเปรียบกับกรณีที่คนชั้นกลางชอบตัดสินคนระดับล่างได้เช่นกัน เพราะบ้านเราไม่เชิงมีแบบนี้ชัดๆ)

- เด็ก ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เอสธา และ ราเฮล, โซฟี โมล ช่วยสร้างความต่อเนื่องและเหตุปัจจัยได้เยอะมาก จริงๆเป็นตำแหน่งผู้เชื่อมเรื่องราว ผู้ร่วมในเหตุการณ์ด้วยทุกครั้งจะดูเหมาะกว่า

ภายใต้รายละเอียดที่มากขนาดนี้แต่เป็นนิยายที่อ่านง่ายและไหลลื่นมากเรื่องหนึ่งที่เคยอ่านมา คือผู้เขียนประสานเรื่องทั้งมุมกว้างและมุมแคบได้ดี (จริงๆที่ปกหลัง ผู้วิจารณ์เปรียบว่า นักเขียนแจ้งเกิดเหมือน ไทเกอร์ วู้ด ที่เล่นลูกยาวก็ดีลูกสั้นก็ยอด) ต้องลองอ่านดูแล้วน่าจะเข้าใจว่าหมายถึงสิ่งใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น