วันพุธที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2553

The Nonsense Guide to Terrorism - Jonathan Barker

The Nonsense Guide to Terrorism - Jonathan Barker
คู่มือศึกษาการก่อการร้ายแบบไม่งี่เง่า - เกษียร เตชะพีระ แปล

สนพ.คบไฟ

ต้นฉบับเขียนเมื่อ Jun 20 2009, 06:47 PM

นับตั้งแต่ 11 กย. เป็นต้นมา คำว่า"ก่อการร้าย", "ผู้ก่อการร้าย" ดูกลายเป็นคำศักดิ์สิทธิ์ สำหรับทั้งรัฐบาลแต่ละชาติ หรือกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ เพื่อใช้เป็นข้ออ้างในการเคลื่อนไหวทั้งตอบโต้และเรียกร้อง หรือออกกฏหมายริดรอนสิทธิ์ หรือใช้เป็นข้ออ้างในการถล่มฝ่ายตรงข้าม (ไม่ว่าจะด้านจิตวิทยาหรือด้านกายภาพ) หรือใช้ในการหาผลประโยชน์ของบางรัฐ หรือบางกลุ่ม ซึ่งใครๆก็รู้ว่าสงครามน่ะมันเปลืองใช้เงินเยอะ เอาแค่กลุ่มเคลื่อนไหวในไทยทั้งสองกลุ่มที่ผ่านมาก็มีข่าวเรื่องอัดฉีดเงินกันระเบิดเทิดเทิงทั้งคู่ไปไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ ลองเทียบกลับไปหางบประมาณรัฐบาลต่างๆด้านนี้ดูแล้วจะเห็นภาพ มโหฬารขนาดไหน (งบประมาณทางทหารในปี 2000 ของสหรัฐ สูงถึง 396 พันล้านดอลลาห์ - ของอัลกอดิดะห์ประมาน 200 ล้านดอลลาห์) เห็นไหมมันใกล้ตัวแค่นี้เอง

หนังสือเล่มนี้เสนอหัวข้อว่าด้วย การก่อการร้ายคืออะไร, ใครก่อการร้าย, เหตุในการก่อการร้าย และบริบทโดยรอบ ผ่าน 5 บทหลัก และ 1บทนำ

แล้วการก่อการร้ายคืออะไร โดยทั่วไปตอบแบบหยาบๆก็แล้วแต่คนไหน หรือกลุ่มผลประโยชน์ใดมอง เล่มนี้เสนอว่ามันมีเชื้อมูล 3 ประการ 1.การใช้หรือคุกคามว่าจะใช้ความรุนแรง 2.ต่อเป้าหมายพลเรือน 3.เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง (น.19) หลายครั้งการก่อการร้ายดึงดูดคนที่รู้สึกถูกดูหมิ่นศักดิ์ศรี ลิดรอนอำนาจและเอารัดเอาเปรียบ อีกทั้งมองไม่เห็นทางเลือกอื่นนอกจากความรุนแรง (น.47)

แล้วใครกันบ้างที่ก่อการร้าย เล่มนี้แบ่งใหญ่ๆเป็น 2 ประเภท คือการก่อการร้ายโดยกลุ่มและโดยรัฐ โดยกลุ่มก็มีตั้งแต่กลุ่มทางศาสนา เช่น ยิว, กลุ่มโอมชินริเกียว, กลุ่มสมาคมลับสาวกเจ้าแม่กาลีในอินเดีย, คริสเตียน, สิข, มุสลิม, ฮินดู และศาสนาอื่นๆ (น.49) กลุ่มนักชาตินิยม เช่น พวกบาส์ก, ไออาร์เอ, คอร์สิกา (น.61) กลุ่มฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา เช่น กองพลน้อยแดงในอิตาลี, กลุ่มกองทัพแดงในเยอรมัน(ส่วนหนึ่งเป็นลูกเศรษฐีซะด้วย), กลุ่มเวเธอร์ อันเดอร์กราวด์ในสหรัฐ, พวกนีโอนาซี (น.62) การก่อการร้ายโดยรัฐ น่าจะมีผลความเสียหายมากกว่าโดยกลุ่ม มากนัก ถ้านับกันตั้งแต่สมัยก่อนในคองโก ที่เบลเยี่ยมกระทำกับคนพื้นเมือง หรือนาซี หรือเขมรแดง คนตายเป็นล้านๆคนทั้งนั้น หรือ กรณีอเมริกา แค่ทิ้งระเบิดผิดเป้าสัก 2-3 ครั้ง เผลอๆคนตายจะมากกว่ากรณี 11กย. แล้วกรณีอิสราเอลทิ้งระบิด ปาเลสไตน์ล่ะ สำหรับอเมริกานี่คงมีมากมายหลายกรณี แต่ผลพวกนี้ยังไม่น่ากลัวเท่า กลุ่มคนธรรมดาที่ฆ่ากันเองอย่าง การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในรวันดา (13 สัปดาห์ชาวตุ๊ดซี่ 500,000 คนถูกฆ่า), อาเจะห์ หรือติมอร์ / ทุกคนทุกกลุ่มหรือทุกรัฐ ล้วนมีเหตุผลในการกระทำก่อการร้าย ทุกคนต่างผลิตชุดความจริงชุดหนึ่งขึ้นมาเพื่ออ้างความชอบธรรมทางศีลธรรมและการสนับสนุนทางวัตถุ

มิเชล ฟูโก เชื่อว่า ความจริงเป็นเรื่องของอำนาจ ไม่ได้เป็นธรรมชาติ และความจริงไม่ใช่การค้นพบ แต่ถูกสร้างขึ้น (Truth is not discovered but produce) / ในเล่มนี้มียกตัวอย่างหลากหลาย ตั้งแต่กรณีนิคารากัว (รุ่นเก่าหน่อยน่าจะจำได้ กรณี อิหร่าน-คอนทรา สมัยเรแกน ในบ้านเราก็ดังพอตัว), กรณีอเมริกา ร่วมสนับสนุนก่อการร้ายในหลายประเทศเพื่อหวังผลทางการเมือง และเศรษฐกิจ เช่น อินโดนีเซีย, คิวบา, อิหร่าน, กัวเตมาลา, คองโก, ชิลีและอีกมาก หรือกรณีประเทศอื่นๆเช่นฝรั่งเศส ในกรณี อัลจีเรีย เป็นต้น เมื่อชุดความจริงเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นบางครั้งมันก็อาจเกิดผลสะท้อนกลับแบบไม่ได้ตั้งใจหลายกรณี อย่างกรณีอเมริกาหนุน กลุ่ม มูจาฮีดีน ในแอฟกัน ให้สู้กับโซเวียต แต่กลายเป็นว่ากลับหนุนให้เกิดกลุ่ม อัลกอดิดะห์ ที่หันกลับมาถล่มอเมริกาเสียเอง เป็นต้น

ประเด็นที่น่าสนใจ คือ บริบทโดยรอบ เช่นปฎิกิริยากลับและอารมณ์ของผู้คนกับการก่อการร้าย โดยยกทั้งความเห็นและอารมณ์ของประเทศต่างๆ, นักวิชาการ (ยกประเด็นว่ารัฐบาลชาติต่างๆใช้เรื่องนี้เป็นการจำกัดสิทธิการเคลื่อนไหวประชาธิปไตย น.13), นักหนังสือพิมพ์ ที่ประณามพวกที่ไม่เห็นด้วยในการถล่มกลับพวกผู้ก่อการร้าย (น.15), นักเขียนของสถาบันฮูเวอร์ ที่ยกยอ บุช และด่าพวกก่อการร้ายว่าเป็นมาร (น.16) หรือ ประเมินกันว่าค่าใช้จ่ายของผู้ก่อการร้ายที่ใช้ กรณี11 กย. ประมาณ 500,000 ดอลลาร์ แต่ประเมินกันว่าค่าเสียหายจริงๆจากเหตุการณ์นี้ สูงถึง 5 หมื่นล้านดอลลาห์ น.33 อีกตัวอย่าง ถ้าเคยมีโอกาสอ่านบทความเกี่ยวกับภาคใต้บ้านเรา จะรู้ว่ามีเงินสะพัดมากขึ้นในวงการอาวุธหลังจากเกิดเหตุความไม่สงบ จำนวนปืนที่ชาวบ้านซื้อขายจดทะเบียนมากขึ้นเป็นแสนกระบอก จากหลักหมื่น / การก่อการร้ายไม่ได้หวังผลแต่เพียง ความตายแต่หวังผลที่ความตื่นตระหนกตกใจของประชาชนด้วยเช่นกัน เผลอๆอาจจะมากกว่าอีก

ทว่าสิ่งหนึ่งที่เห็นชัดเจนจากการอ่านเล่มนี้คือ "กระบวนการลดค่าความเป็นคน" ถือว่ามีความน่ากลัวอย่างแท้จริง มันมักเริ่มจากการชักชวนให้กลุ่มคนเชื่อว่าสิ่งที่ทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องก่อนเบี่ยงประเด็นไปเป็นกรณีอื่นแทน เช่น เชื้อชาติ (เช่น รวันดา, เซอร์เบีย) หรือชนชั้น เพื่อทำให้กลุ่มที่เป็นฝ่ายตรงข้ามไม่ใช่คนที่เท่าเทียมกันหรือบางกรณีไม่ใช่คน เพื่อจะได้ฆ่าหรือทำร้ายได้โดยไม่รู้สึกผิด

เพราะถ้าเรา = ความดีเสียแล้ว ศัตรูหน้าไหนๆก็ย่อม = ความชั่ว (น.117)
ในโลกที่หยาบง่ายและบิดเบือนแบบนี้ มันช่างง่ายพิลึกที่จะให้ความชอบธรรมแก่การก่อการร้ายโจมตีบรรดาผู้ที่ยืนอยู่นอก "ชุมชนทางศีลธรรมที่แท้จริง" การกระทำที่ทุศีลและอธรรมจึงกลับกลายเป็นชอบด้วยเหตุผลในฐานะวิธีการป้องกันศีลธรรมเสียเอง (น.117)



น่าคิดและไตร่ตรองในสถานการณ์ของบ้านเราได้เหมือนกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น