วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

เจ้าสัว ขุนศึก ศักดินา ปัญญาชน และ คนสามัญ

เจ้าสัว ขุนศึก ศักดินา ปัญญาชน และ คนสามัญ
รวมบทความประวัติศาสตร์ของ เครก เจ. เรย์โนลด์ส

บรรณาธิการแปล วารุณี โอสถารมย์
มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย กับ
มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์
หนา 417 หน้า

ต้นฉบับเขียนเมื่อ Sep 29 2008, 10:25 PM

เล่มนี้ถือว่าเป็นหนังสือเนื้อหาหนักแน่นแต่อ่านสบาย อ่านได้ค่อนข้างเพลิน เนื้อหาก้อน่าสนใจในระดับหนึ่ง
ประกอบกับนักเขียนถือว่าเป็นที่รู้จักในวงวิชาการและถือว่ามีความเชี่ยวชาญในเรื่องเกี่ยวกับภูมิภาคนี้คนหนึ่ง
จริงๆแล้ว มุมมองฝรั่ง บางครั้งไม่ได้ถูกทั้งหมด แต่ กลับเป็นว่า เป็นมุมมองที่เราไม่ค่อยเห็นเท่าไหร่
ต่างจากมุมมองนักวิชาการไทย อาจจะเพราะว่า ของไทยเองอาจยังไม่กล้าเขียนมากนักก้อได้ แต่ถ้าคิดว่า
จะได้เห็นมุมมองแบบ หวือมากๆ ในเล่มนี้อาจจะผิดหวังกันบ้าง แต่ในส่วนตัวผมกลับรู้สึกว่า เล่มนี้เข้ามาเติมช่องว่าง
ของคำถามบางอันที่เคยสงสัย เพราะส่วนใหญ่ผมมักใช้ข้อมูลจากหลายๆที่ประกอบ คือประมาณว่าอ่านแล้วสงสัยประการใด
ก้อ อุบ ไว้ก่อน พยายามหามาเติม

ในเล่มนี้จะเป็นการคัดเอาบทความของ เรย์โนลด์ส ที่แปลเป็นไทย มารวมเอาไว้ ดังนี้

คดีไต่สวน ก.ศ.ร. กุหลาบ - การท้าทายงานเขียนประวัติศาสตร์ราชวงศ์ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19
ประวัติศาสตร์สังคมคืออะไร
จิตร ภูมิศักดิ์ ในประวัติศาสตร์ไทย
โครงเรื่องของประวัติศาสตร์ไทย - ทฤษฏีและการปฏิบัติ
เจ้าสัวและขุนศึก - บริบททางวัฒนธรรมและการเมืองของสังคมไทยสมัยใหม่และสามก๊ก นิยายพงศาวดารจีน
มองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคเก่าแบบใหม่
ปุชนียแห่งอัตลักษณ์ในฐานะแหล่งชุมนุมประท้วง - เปรียบเทียบพม่ากับไทย

อันนี้ที่แนะนำเป็นพิเศษก้อ อันแรกครับ เพราะในมุมมองของนักวิชาการเจ้าจะเห็นว่า แก เลอะเทอะ (ซึ่งจริงๆก้อใช่อ่ะนะ) แต่คนเขียนกลับเสนอ
อีกด้านของเหรียญได้อย่างน่าสนใจ
"จิตร ภูมิศักดิ์ ในประวัติศาสตร์ไทย" อาจจะไม่สะใจคนชอบลึกๆเท่าไหร่ แต่มุมมองกับข้อมูลปลีกย่อยบางตัวน่าสนใจครับ
เจ้าสัวและขุนศึก ก้อสนุกครับ อ่านกันได้ความรู้เพลินๆดี แบบว่าก้อพึ่งรู้ ว่าสามก๊กฉบับภาษาไทยไม่ได้เหมือนกับของจีนเลย เพราะมีการปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสม
หรือ "ประวัติศาสตร์สังคมคืออะไร" ผมว่ามุมมองโดดเด่น และ แปลกดี เพราะใช้เรื่องการพนันและภาวะโสเภนี ในการอธิบายเรื่องทาส ผมเลยนึกอารายขำๆต่อ
งั้นตอนนี้ ทาสหายไปรึยัง หรือ ก้อแค่เปลี่ยนรูปไปอีก มาในรูปของ พวกสินเชื่อส่วนบุคคล, แชร์, รายการตามทีวี หรือ เวทีประกวดต่างๆ
หัวข้อสุดท้าย ก้อทำให้ต้องไปหาหนังสือพม่า กับ เรื่องอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยมาอ่านต่อเลยทีเดียว เพราะมันกระตุ้นได้ดีเหลือเกิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น