วันพุธที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2553

ประวัติปรัชญาการเมือง เล่มที่ 1


ประวัติปรัชญาการเมือง เล่มที่ 1 - ลีโอ สเตร๊าส์ และ โจเซ็พ คร็อปซีย์ บรรณาธิการ
ดร. สมบัติ จันทรวงศ์ แปล


ต้นฉบับเขียนเมื่อ Feb 19 2009, 11:00 PM

เล่มนี้ถือว่าเป็นไกด์บุ๊ค ชั้นดีให้รู้จักปรัชญาการเมือง เล่มแรกจะเป็นปรัชญาการเมืองคลาสสิค ส่วนอีก 2 เล่มที่เหลือจะใช้วิธีไล่ยุคกันไป ซึ่งครอบคลุมนักปรัชญาการเมืองคนสำคัญไว้เกือบหมด แต่อย่างไรก้อแล้วแต่มันเป็นแค่ไกด์ ฉะนั้นถ้าสนใจ ก็น่าหาอ่านเป็นรายๆไป ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้แนะนำและแสดงชื่อ ผลงานชิ้นสำคัญๆไว้ด้วย ถ้าเป็น ปรัชญาการเมืองคลาสสิค ส่วนใหญ่สามารถหาโหลดได้ เป็นภาษาอังกฤษแบบฟรีๆ ของเวป http://www.gutenberg.org/ แต่ควรรู้ชื่อคนแต่งจะดีสุด เพราะหลายกรณี ชื่อหนังสือซ้ำกัน แต่ต่างคนเขียน เช่น law หรือถ้าชอบแบบไทยๆ ก็ต้องตามล่ากันหน่อย เพลโต แอริสโตเติล น่ะมีครบแน่ แต่คนอื่นๆ ผมไม่ค่อยเจอเท่าที่ควร

เล่มนี้ที่น่าสนใจก็ เพลโต, แอริสโตเติล, ซิสเซโร, เซนต์ โธมัส อะไควนัส (ในความคิดนะ นี่แหละครับเก่งจริงๆที่ประสานแนวนอกศาสนากับคริสต์ ได้ลงตัว), อัลฟะเราะบี และ ธูซิดิดีส 2 คนสุดท้ายนี่เปิดโลกทัศน์ใหม่ให้ผมอย่างแท้จริงในเรื่องปรัชญาการเมือง แนวการนำเสนอในเล่มนี้นอกจากแบ่งบท ตามคนแล้ว ในแต่ละบท จะมีการอ้างอิง เน้นย้ำในสาระสำคัญตลอดเวลา ผมว่านี่เป็นข้อดีนะ แต่ถ้าบางคนเข้าใจได้ไว ก็อาจรู้สึกเบื่อหน่ายได้ เพราะมันเน้นบ่อยไปแต่มันทำให้ซึมซาบได้ดีนะผมว่า...คือทำให้คิดตามได้ตลอดแล้วไม่หลงประเด็นไป เพราะถ้าใครเคยอ่านแบบต้นฉบับจะรู้ว่า ปรัชญาการเมืองคลาสสิคมักเป็น การเปรียบเทียบซะมากทั้งกับเหตุการณ์ ณ เวลานั้นๆ คือเหมือนเราคุยกับเพื่อน แล้วอ้างอิงกับเหตุการ์ณใดๆ ก้อตามในขณะนั้น เพื่อความกระจ่าง หรืออ้างอิงกับเหตุการณ์สำคัญๆในอดีต บางครั้งยกเปรียบเทียบกับ เทววิทยา พวกเทพเจ้า อันหนึ่งก็จะน่าเพราะ สมัยก่อนเขียนตรงๆ อาจโดนเจี๋ยนทิ้งซะก่อน เพราะไม่รู้ว่าไปเหยียบตาปลาใครเข้า

อีกประการหนึ่ง สมัยกรีกตอนต้นแม้จะชูมนุษย์ในฐานะสูง แต่ก็อดไม่ได้ที่ต้องอ้างอิงกับเทพเจ้า พอมาถึงสมัยคริสต์ และ อิสสลาม มีเรื่องศาสนามาเกี่ยวข้องในประเด็นสำคัญ คือกลายเป็นเรื่องความเป็นความตายได้ ทั้งกับผู้เขียนและศิษย์ ประเด็นสำคัญหลายครั้งจึงถูกซ่อนไว้อย่างเนียนๆ แม้ผู้เขียนแต่ละท่าน จะถือว่าเป็น ยอดปราชญ์ก้อตาม ทำให้เวลาอ่านพวกนี้ ต้องคอย ดูความเป็นมาบ้างเช่น พูดกับใคร สอนใคร สอนเมื่อไหร่ ใครเป็นมิตร ใครเป็นศัตรู เป็นต้น คือต้องรู้ background บ้าง เล่มนี้ตัดปัญหานั้นไปค่อนข้างเยอะ เพราะมีการปูพื้นฐานให้เราแล้วไม่มากก้อน้อย แถมยังเน้นและมีเชิงอรรถ อธิบายเพิ่มด้วยในบางเรื่อง

ข้อน่าสนใจต่อมา ถ้าใครอ่านหรือดูหนังบางเรื่อง อาจนึกสงสัยว่า คนที่ หนังหรือ หนังสือเหล่านั้นอ้างถึงคือใคร แล้วมันเกี่ยวกับอะไร ยกตัวอย่าง ผมดูเซเว่น ชอบมากๆแต่ ก็ให้สงสัยว่า dante หรือ หนังสือ paradise lost มันมีรายละเอียดอย่างไร คือมันสร้างแรงบันดาลใจขนาดนั้นได้อย่างไร ผมก้อไปหาอ่านเอา แต่ถ้าใครเคยอ่านงานของ นักเขียนและ เรื่องนี้ดี จะทราบว่า มันเขียนในรูปบทกวี อ่านยากครับ ถ้าเป็นบทอ่านธรรมดายังพอทน แต่บทกวีนี่ เหนื่อยหนัก หนังสือไกด์ชุดนี้ก็แก้ปัญหานี้ได้ดี คืออย่างน้อย ก็ไกด์คร่าวๆให้ก่อน จะได้ไม่เตลิดออกป่าเข้ารกเข้าพง ไปเหมือนที่ผมอ่านตอนแรกๆ (แต่สำหรับ มิลล์ จะไปอยู่เล่ม 2)

อีกข้อหนึ่ง คือถ้าท่านสนใจการเมืองจริงๆพวกนี้น่าอ่านมาก เพราะท่านจะรู้เลยว่า ไม่เคยมีการเมืองใหม่ ทุกอย่างแทบจะเรียกได้ว่าเก่าทั้งนั้น นักการเมืองหรือนักเคลื่อนไหว บางคนมักชอบอ้าง หรือ บางคน เอามาทั้งยวง ทั้งปรับใช้เอง หรือประยุกต์ตามสังคมบ้างเล็กน้อย แต่ไม่มีอันไหนใหม่ คือหลักๆได้มีคนคิดมาแล้ว หรือไม่ก็อ่านจากเล่มเดียวกัน นี่แหละ แล้วมาอำคนอื่นต่อ โดยไม่ยอมบอกหรือเข้าทำนองพูดความจริงแต่พูดไม่หมด เก็บในสาระสำคัญหรือปัญหาบางอย่างเอาไว้....สมัยนี้ผมว่ารู้อย่างเท่าทันสำคัญมาก ไม่ใช่รู้ตามๆกันไป อย่างไรก้อแล้วแต่ ถ้าใครอ่านพวกนี้จบแล้วแต่ไม่เห็นด้วย ผมว่าก็ไม่แปลก เพราะบางอันผมก็ไม่เห็นด้วย แต่ก็ล่ะนะ มันขึ้นกับบริบทสังคม ณ เวลานั้นๆด้วย และอีกประการ เราจะมีเวลาที่ไหนไปนั่งหาอ่านบทแย้งอื่นๆได้ ผมว่ายากนะ ต้องสนใจสุดๆอ่ะ แต่ชุดนี้ย่อยมาแล้วทำให้ ถ้าสนใจใครก้อหาอ่านเพิ่มได้ หรือหาอ่านคนที่เห็นแย้ง ไว้ได้ด้วยเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น