วันพุธที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2553

The Prince - Niccolo Machiavelli


The Prince - Niccolo Machiavelli
เจ้าผู้ปกครอง - สมบัติ จันทรวงศ์ แปลและเขียนคำนำ


ต้นฉบับเขียนเมื่อ Feb 27 2009, 07:15 PM

ว่าโดยทั่วไป นี่คือหนังสือปรัชญาการเมืองที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งของโลก โดยปลีกย่อยแล้ว ใครก็ตามที่เล่นการเมือง(ถ้าว่าตาม เพลโต เราทุกคนเป็นสัตว์สังคมหรือสัตว์การเมือง) หรืออยากเล่น หรือสนใจ น่าจะติดใจได้ไม่ยาก โดยละเอียดส่วนตัวแล้ว ผมว่าอ่านๆไปเหมือนเป็นคู่มือการประชุม และการคุมงานที่ดีที่สุดด้วย เป็นยังไงจะขยายต่อไป...โดยในหนังสือนี้ ผู้แปลแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนของ "เจ้าผู้ปกครอง" กับส่วนของ การวิเคราะห์บทละครตลก เรื่อง mandragola มาคิอาเวลลี แต่งเช่นกัน

หนังสือเล่มนี้ มาคิอาเวลลี เขียนไว้เมื่อตอนไม่ได้รับราชการแล้ว เพื่อเสนอให้แก่ โลเร็นโซ เมดิชี ผู้ประเสริฐ แห่งตระกูลการเมืองทรงอำนาจของอิตาลี ที่มีคนในตระกูลเป็นพระสันตะปาปา 2 พระองค์ และ เจ้าผู้ครองนครฟลอเร็นซ์ อีกมาก ในยุคที่อิตาลีแตกเป็น หัวเมืองอิสระมากมาย เช่น เวนิส, ปิซ่า, อาณาจักรเนเปิล หรือ เซียน่า คุ้นทุกอันถ้าเป็นแฟนบอล อึมยกเว้น ปิซ่า เล่น ซีรีอา น้อยไปหน่อย เหอๆ
เล่มนี้มีไว้ในครอบครองนานพอควร เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 4 เดี๋ยวนี้ เห็นพิมพ์ครั้งที่ 6 แล้ว แสดงถึงความน่าสนใจได้เป็นอย่างดี แต่คงสู้พวก แฮร์รี่ พอตเตอร์ ไม่ได้แน่ เพราะยอดขายต่างกันราว ทวด กับหลาน

ผมเริ่มกลับมาอ่านอีกครั้ง เมื่อได้อ่าน หนังสือเล็กๆเล่มหนึ่ง เกี่ยวกับพระเจ้าปราสาททอง กับ แนวความคิดของ มาคิอาเวลลี พิมพ์โดย สนพ.มติชน ขอประทานโทษที่จำชื่อเต็มๆไม่ได้ครับ ...แน่ล่ะครับ พระเจ้าปราสาททองไม่น่าจะได้อ่านงานของ มาคิอาเวลลี (หรือจะอ่านได้..คงต้องเชคปี พ.ศ.กันอีกครั้ง) แต่มันพิสูจน์ว่า การเมืองมีกฏอิสระของตัวเอง และเป็นสากล เพียงพอที่ คนต่างถิ่นที่อยู่(หรืออาจต่างเวลา) จะคิดคล้ายกัน เพียงแต่ มาคิอาเวลลี แค่คิด แต่ พระเจ้าปราสาททอง กระทำ และถ้าบางคนทราบ ชื่อเสียงของพระเจ้าปราสาททองมาบ้าง จะยิ่งเห็นภาพว่า ระบบมาคิอาเวลลี สร้างและส่งผลอย่างไรบ้าง ในบริบทอยุธยาผมว่า วุ่นวายและซับซ้อนไม่ต่างกับอิตาลี สมัยนั้นแน่นอน

ในส่วนเจ้าผู้ปกครองแบ่งออกเป็น 26 บทหลัก กับ 1ความนำ(เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจคร่าวๆในมาคิอาเวลลีของเราก่อน) แต่ละบท มาคิอาเวลลีจะใช้การยกตัวอย่าง ทั้งในประวัติศาสตร์และเทพนิยาย หลายครั้งเป็นเหตุการณ์ปัจจุบัน(ในสมัยมาคิอาเวลลี)ประกอบคำอธิบายตลอด ในส่วนการแปล ของผู้แปล เหนือคำบรรยาย ละเอียด แทบจะทุกแง่มุม เห็นได้จากเชิงอรรถ ที่บางบท มากหน้ากว่า ตัวบทเองซะอีก แต่ผมว่าจำเป็นนะ เพราะถ้าอ่านเฉยๆมีสิทธิ์หลุดสาระได้

บทที่น่าสนใจ เช่นที่มาของเจ้าผู้ครองรัฐทั้งหลาย ถ้าเรานึกเปรียบเทียบกับงานในวงธุรกิจ จะเห็นภาพและเข้าใจได้ไม่ยาก เพราะค่อนข้างเป็นสามัญสำนึก โอเคล่ะว่า บางอันอาจจะดูเถื่อน และเหมือนยอมรับว่าโลกเรามันโหดร้าย แต่หรือไม่จริงล่ะ ในเนื้อหานี้ กินความถึง 11 บท ส่วนที่เหลือ จะเป็น"การสอนหรือแนะนำ" เช่นทหารมีกี่ประเภทเป็นต้น แต่ตอนอ่านไม่รู้นึกยังไง เห็นเป็นเรื่องผู้รับเหมาไปเฉยๆ หรือจะเป็นเรื่องของสถาปนิกก็ไม่ผิด

เรื่องนี้ชัดเจนขึ้นในบทที่ 13 ดังประโยคนี้
"อาวุธของผู้อื่น หากไม่พลัดจากหลังของท่าน ก็จะถ่วงท่านหรือทำให้ท่านอึดอัด"
กับอีกประโยคหนึ่งแต่เป็นการตัดทอนมาจากของ Tacitus
"ไม่มีอะไรที่จะไม่มั่นคงและไร้เสถียรภาพยิ่งไปกว่ากิติศัพท์ แห่งอำนาจที่มิได้มีฐานอยู่บนกำลังของตนเอง" ทำไมถึงนึกเช่นนั้น เคยมีประสบการณ์ตรงหลายที ที่ผู้รับเหมา ไม่มีช่างของตัวเองในงานหลักๆ ต้องไปเหมา หรือจ้างรายวันมา ทำให้มีปัญหามาก ในช่วงที่งานเร่งๆ หรือกรณี แต่ก่อนมีงานหนึ่งต้องไปจ้างทำ 3d ส่งลูกค้าเพราะงานใหญ่เกินและไม่มีเวลาทำ ปรากฏว่า ลูกพี่บ่นฉิบหาย เพราะงานมันออกมาไม่เหมือนดั่งที่คุย แถมไม่เหลือเวลาให้แก้ไข อีกต่างหาก หรือ บทที่16, 19, 20, 21 และ 22 ก้อชอบ คือสรุปว่าบทหลังๆนี่สุดยอด เหมาะแก่การอ่านเป็นอย่างยิ่ง จะได้ไว้คอยเตือนตัวเอง เวลาทำงาน มั้ง?

ส่วน mandragola ก้อน่าสนใจและอ่านได้เพลินๆ แถมด้วยบทสรุปความคิดของ มาคิอาเวลลี ด้วย คือมาในรูปแบบที่จะเอาง่ายก้อได้ จะเอายากก้อได้ คือโดยส่วนตัวผมว่าขำซ้อนเงือน แบบมีการใช้เรื่องในประวัติศาสตร์สมัย โรมันเป็นตัวตั้ง แล้ว เปลี่ยนแปลง มันไปตามเจตจำนงค์ของผู้แต่ง ไม่รู้จำผิดหรือเปล่าแต่ชื่อ ต้นไม้นี้ เหมือนเห็นใน แฮร์รี่ พ๊อตเตอร์ด้วย ผิดถูกประการใด โปรดอภัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น