วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553

ในพระปรมาภิไธย ประชาธิปไตย และตุลาการ - ปิยบุตร แสงกนกกุล


ในพระปรมาภิไธย ประชาธิปไตย และตุลาการ - ปิยบุตร แสงกนกกุล
สนพ. openbooks

ต้นฉบับเขียนเมื่อ May 28 2009, 09:49 PM

กฎหมายบางครั้งเป็นเรื่องเข้าใจได้ยาก การที่จะมีใครสักคนเขียนให้ดูอ่านง่ายไม่มีภาษาวิชาการมากๆเน้นตรรกะดูจะน่าสนใจ ในขณะที่ตามท้องตลาดเต็มไปด้วยหนังสือเชิงพรรณาโวหารเสียมาก บางเล่มแค่เห็นชื่อคนเขียนก็รู้ทันทีว่ามาแนวไหน บางเล่มรู้กระทั่งว่าใครเป็นเจ้านายคนเขียน อันนี้ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ทีเดียว เหอๆ ต้องยอมรับว่ากระแสสังคม (ผมใช้คำว่ากระแสเพราะสังคมชนชั้นกลางในเมืองเป็นลักษณะไหลไปเรื่อยๆไม่ค่อยอยู่กับที่ ไม่มีหลักแน่นอน) ที่ผ่านมาทำให้การเข้าใจเรื่องพวกนี้ในหลักการปราศจากอคติเป็นเรื่องยากกกก (ก่อนหน้านี้เคยฟังคนอื่นเหน็บคนเขียนคนนี้กับอีกคนมาก่อน ก็เพราะอารมณ์แท้ๆ แต่เราก็เหมือนเคลิ้มๆไปนิดๆเหมือนกัน) แต่พอคุณเริ่มเปิดใจ (เหมือนผมเชื่อว่าบัว 3 เหล่านั้นไม่ได้หมายถึงคนโง่หรือระดับสติปัญญาแต่หมายถึงระดับของการเปิดใจรับของแต่ละคน) แล้วพิจารณาไปที่ประเด็น, หลักการและความถูกต้องจากนั้นความคิดจะเริ่มปรับตัวเองโดยอัตโนมัติ

ปกติผมไม่ค่อยอยากยกพวกคำชมท้ายเล่มให้อ่านเพราะจริงๆแล้ว ส่วนตัวแทบไม่มีผลในการอ่านหรือไม่อ่านเลย แต่กรณีนี้ผมว่าผู้ที่มาเขียน สรุปประเด็นของหนังสือได้ครบถ้วนในประโยคสั้นๆ และเห็นภาพชัดเจนยิ่ง อันนี้เป็นส่วนที่ย่อมาอีกทีที่ท้ายเล่มบวกกับข้อความเต็มๆในเล่ม
"บทความต่างๆของอาจารย์ปิยบุตร เป็นบทความที่วิเคราะห์ปัญหารัฐธรรมนูญ (องค์กรตุลาการกัประชาธิปไตย, พระราชดำรัสของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย, หยุด แสงอุทัย กับหลัก "the king can do no wrong", กฏมญเฑียรบาลกับรัฐธรรมนูญ) การเมือง (อำนาจนอกรัฐธรรมนูญกับการแทรกแซงการเมืองในนามของกฏหมาย, เลือกตั้ง 23 ธันวา, ใบเหลือง ใบแดง กกต. และศาลฎีกา) และกฏหมายมหาชน (บางเรื่อง) ของไทยได้อย่างน่าสนใจ ทั้งยังได้นำประสบการณ์ในบางเรื่องของต่างประเทศมาวิเคราะห์ให้ดูด้วย (ตุลาการวิบัติ ประสบการณ์ของฝรั่งเศส, ยุบพรรคในต่างประเทศ) นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะในยุคที่หลายต่อหลายคนเรียกร้องหรือสนับสนุน "ตุลาการภิวัตน์" โดยไม่รู้จริงๆแล้วสิ่งที่ตนเองพูดถึงนั้นคืออะไร"
รศ.ดร. วิษณุ วรัญญู - ตุลาการศาลปกครองสูงสุด

บทของ หยุด แสงอุทัย เป็นอะไรที่ผมว่าค่อนข้างใหม่สำหรับหลายๆคน เพราะอาจอ่านงานของคุณประมวล มาก่อนก็เป็นได้ ประเด็นคือ เล่มนี้สร้างองค์ความรู้บางส่วนได้ ถึงแม้เราอาจไม่เห็นด้วยบางประการ (เพราะว่าหลายครั้งเราใช้ความรู้สึกมากกว่าเหตุ) บางเรื่องผมไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่ในแง่ที่ว่าหากทำตามนั้น อาจก่อผลร้ายมากกว่าหรือไม่ จริงอยู่ว่าผู้เขียนดูจะมั่นใจในระดับของการรับรู้ของคนในสังคมไทยค่อนข้างสูง ว่าจะเข้าใจและกระทำได้ไม่ยาก แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ อาจเป็นเพราะสังคมไทย ชอบการแบ่งกลุ่มหรือชนชั้นก็เป็นได้ มันถึงยุ่งเหยิงขนาดนี้เหมือนที่
- แต่ก่อนคนขาวบางส่วนดูถูกคนดำว่าไม่ต่างจากสัตว์ เพราะฉะนั้นชีวิตของพวกสูจึงเป็นของพวกปวงข้า
- แต่ก่อนคนในชาติพัฒนาแล้วบางส่วนดูถูกคนเอเชียว่าเป็นลิงเหลืองไม่ศิวิไลซ์ ไม่ใส่เสื้อ กินข้าวกับพื้น ไม่มีวินัย
- แต่ก่อนคนเรียนมหาลัยปิดของรัฐบางส่วนดูถูกคนที่เรียนจบมหาลัยเอกชนว่าไม่มีมาตรฐาน โง่
- แต่ก่อนคนจบดอกเตอร์บางส่วนว่าคนจบป.ตรีคิดไม่เป็นระบบ ดีแต่ลอกๆกันไป
- แต่ก่อนคนชั้นสูงบางส่วนว่าพวกชนชั้นกลางว่าเป็นพวกไม่มีกำพืดมีแต่เงิน ชอบอวดร่ำอวดรวย
- คนชั้นกลางหลายส่วนว่าคนชั้นล่างว่าโง่กว่ากรู เพราะฉะนั้นชีวิตของพวกสูจึงควรเป็นของพวกปวงข้า -----(โปรดย้อนกลับไปอ่านที่ข้อแรก)
ดูเหมือนใครๆก็หาเหยื่อรองรับอารมณ์อันสุนทรีย์ของชนชั้นตัวเอง จนลืมว่าแท้จริงแล้วหลักการกับเหตุของมันอยู่ที่ไหน

เล่มนี้จึงเหมาะสำหรับทุกคนที่มุ่งหาข้อมูลและความเข้าใจเพิ่มเติม (ซึ่งแน่นอนไม่ใช่ว่าอ่านแล้วจำเป็นต้องเชื่อแต่ควรทำความเข้าใจในระดับหนึ่งก่อน) แต่อาจไม่เหมาะสำหรับคนที่อาศัยอยู่แต่ด้านมืดของดวงจันทร์ แล้วมันจะไปเห็นโลกได้ไง โลกสีน้ำเงินอันแสนสวย ลองเดินออกมาดูหน่อยจะเป็นไรมี (อย่าพยายามตีความว่าดวงจันทร์(lunar) ที่เป็นรากศัพท์ของคำว่า lunatic ที่แปลว่าบ้านะ อันนั้นคงลึกเกินไป)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น