วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

ตำนานมนุษย์ถ้ำ - ฌอง.เอ็ม.อวล

ตำนานมนุษย์ถ้ำ - ฌอง.เอ็ม.อวล
The Clan of The Cave Bear - Jean M. Auel

บุษกร แปล
สนพ วรรณวิภา

ต้นฉบับเขียนเมื่อ Sep 27 2008, 11:27 PM

นิยายประเภทออก แนวมานุษยวิทยามากๆ หรือออกแนวพวกชาติพันธ์ หรือแนวบรรพกาล ผมมีโอกาสอ่านน้อยมากๆอาจจะเป็นเพราะว่ากลัวไม่สนุก ก่อนหน้านี้ผมเคยอ่านแนวออก ชีว + ปรัชญา อย่าง "อิชมาเอล" ยอมรับว่าสนุกและได้ความรู้ในระดับที่มากกว่าที่เคยได้มาเพราะมันไม่เชิงนิยาย แต่มันหนักไปทาง ปรัชญา และ ชีว กลับมาที่เล่มนี้ที่ค่อนข้างเก่าเก็บเล็กน้อย เอามาอ่านอีกครั้งเนื่องจาก ดูหนังเรื่อง 10000BC. เลยอยากลองอ่านต่อดู

หนังสือนี้เป็นหนึ่งในชุด Earth's Children ที่จะมีทั้งหมด 5 เล่ม เล่มนี้คือ เล่มแรก พูดในแง่การแปล ผมว่าคนแปลมีความละเอียดและใส่ใจมากๆ ทำให้อ่านไปได้ความรู้ คือแน่นอนว่า คนเขียนนั้นใส่รายละเอียดเยอะ แต่ถ้าคนแปลไม่หาข้อมูลทีดีพอก้อไม่สามารถบังเกิด เป็นหนังสือแปลที่ดีได้

เราอาจเรียกนิยายประเภทนี้ว่า 0-100 เป็นประเภทการเล่าเรื่องลำดับเหตุการณ์ ถ้าจะให้เห็นภาพ มันจะคล้ายเกมส์ rpg คือ ของที่เก็บมา คือประสบการ์ณของตัวละคร สิ่งใดที่ตัวเอกรู้เรารู้พร้อมไปด้วย เนื่องจากนิยายนี้อ้างอิงจากการใช้ชีวิตของคนในสมัยหิน ความเชื่อผี และสิ่งอธิบายไม่ได้มีอยู่โดยตลอด รวมถึงพวกภูมิปัญญาชาวบ้าน จำพวกยาพื้นบ้าน รากไม้ ใบไม้ที่ทำยาได้ อะไรประมาณนั้น ทั้งอาวุธสมัยยุคหิน พิธีกรรม และอื่นๆ พวกเครื่องมือจับสัตว์ การหาทำเลที่อยู่

เรื่องนี้อาจแบ่งการนำเสนอได้หลักๆ 3 รูปแบบ คือ เล่นที่ความไม่เข้าใจ, ความเห็นต่าง หรือ ความแตกต่าง และ ความเรียบง่าย

ว่ากันที่ความไม่เข้าใจ บางครั้งมันสามารถเปลี่ยนให้คนกลายเป็นบ้า หรือบางกรณีคลั่งได้ง่ายๆ ซึ่งผมว่าเราสามารถเห็นได้ทั่วไปอยู่แล้ว / ธรรมชาติของคนคือการสร้างชุดคำอธิบายมาแสดงตอบสนองความไม่เข้าใจของตน และแปลกแต่จริง เรายังสามารถเห็นลัทธิถือผีนี้ได้ในปัจจุบัน ซึ่งผมไม่ได้หมายถึง คนที่มีการศึกษาหรือไม่มีการศึกษา ลัทธิถือผีในความหมายนี้คือ สิ่งที่เราไม่เข้าใจ เมื่อเราไม่เข้าใจแล้วมีบางคนบอกในสิ่งที่เราอาจเอียงไปนิดหน่อย เราก็จะมักเชื่อตามทีใครบางคนนั้นบอก จากนั้นคำๆนั้นจะกลายเป็นคำเรา กลายเป็นอำนาจที่อยู่เหนือเรา เช่น แชร์รถเช่า, แชร์ข้าวสาร หรือ การชุมนุมทางการเมือง พวกนี้จะเห็นภาพที่สุด
(ในแง่ที่ว่าคนที่ไปส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว แต่ยกเหตุผลให้เข้าข้างตัวเอง แล้วสบประโยชน์กันก้อไป พอมีปัญหา เลยพึ่งรู้ตัวอีกที ถ้าเคยดูสัมภาษณ์พวกเหยื่อแชร์จะเห็นภาพอย่างมาก เพราะบางคนยังพยายามอธิบายอยู่เลย ทั้งๆที่ก้อรู้อยู่ว่ามันไม่มีหรอกไอ้รายได้งามขนาดนั้น...หรือคนที่เข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง เวลาคุยตอบมักจะเป็นการจำคำพูดของคนอื่นเป็นส่วนใหญ่ ส่วนจะรู้เองรึไม่นั่นอีกเรื่องหนึ่ง) เหมือนตัวเอกที่เป็นหัวหน้าเผ่าในเรื่อง คือมีความไม่เข้าใจ แต่มีความเชื่อร่วมอยู่บางอย่างและความกลัวในสิ่งไม่รู้ ทำให้ไม่สามารถขัดหมอผีได้
แล้วสุดท้าย ความคิดและความเชื่อของเขาก้อผสานไปกับหมอผี แม้ตัวลูกชายหัวหน้าเผ่า ที่ออกไปทางเอาแต่ใจและขวานผ่าซากยังไม่อาจฝืนความรู้สึกบางอย่างของหมอผีได้ ผมมองว่าการนำเสนอที่เรียบง่ายทำให้เรา เห็นภาพและเข้าใจได้ไม่ยาก

ความเห็นต่างหรือความต่าง คือสิ่งที่เรื่องนี้ใช้เป็นตัวเชื่อมเรื่อง แล้วเราจะเข้าใจว่า คนมากมายพยายามทำตัวให้กลมกลืน เพราะอะไร แต่ในความกลมกลืนก้อเพราะว่า คนส่วนใหญ่ไม่สามารถรับความต่างได้นั่นเอง ยกตัวอย่างก้อกรณี พวกโลกกลมโลกแบน เป็นต้น เหมือน โสเกรสตีส บอก ไครโต ไงครับที่ว่า "คนส่วนใหญ่ไม่ได้กระทำตัวฉลาดเสมอไป" แต่ความต่างในเรื่องนี้นำมาซึ่งผล อันสุดขั้วใน สองด้านทั้งดี และเลว ลองคิดเล่นๆเฉยๆ ถ้าเป็นท่านๆจะทำอย่างไร การยกตัวอย่างเปรียบเทียบ ในปัจจุบัน ผมว่ามีเป็นล้านเรื่อง เราเห็นทุกวันว่า คนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการเห็นต่างอยู่แล้ว บางกรณีมีไล่กันเลยด้วยซ้ำ

ความสวยงามจริงๆของนิยายคือ ความเรียบง่าย บางทีเราอ่านไปเรื่อยๆเราอาจรู้สึกว่าอยากมีชีวิตอย่างนี้ คือ ไปตามธรรมชาติ หรือ เห็นภาพในอดีตที่งดงาม ชีวิตที่ดำเนินไปในทางที่ควรเป็น แต่แน่นอน มันเป็นไปได้ยากในปัจจุบัน

แต่สิ่งหนึ่งคือ เราเป็นเพียงส่วนเดียวในประวัติศาสตร์โลกเท่านั้น เคยได้ยินว่า ประวัติของคน ถ้าเทียบเป็น ปฎิทิน เริ่มนับตอนโลกกำเนิดว่าเป็นเดือน มกราคม คนเราพึ่งโผล่เอา เมื่อ 5นาที จะเที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวา เท่านั้น

ถ้าอยากอ่านเอาสนุกผมว่าสนุก และได้ความรู้แฝงเยอะมาก แต่ถ้าอ่านเป็นปรัชญา ก้อไม่ผิดกติกา แต่อย่างใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น