วันพุธที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2553

รามายณะ - ราเมศ เมนอน


รามายณะ - ราเมศ เมนอน
วรวดี วงศ์สง่า แปล


ต้นฉบับเขียนเมื่อ Jan 5 2009, 11:03 PM

อย่างแรก ตัวเองไม่เคยอ่าน นิยาย คลาสิค ที่มีอายุระดับเป็นพันปี แบบนี้มาก่อน โอดิสซี สามก๊ก เอ๋ย ผมยังไม่มีโอกาส อ่านแบบจริงๆจังๆ เล่มนี้ถือว่าเป็นเล่มแรก ครั้งที่ซื้อหามา ก็ไม่ได้คาดคิดว่าตัวเองจะชอบ หรือ อ่านได้จนจบ ถึงแม้ว่า ฉบับนี้ ผู้แต่งจะได้ทำให้มีความง่าย และอ่านสนุก แต่ไม่ตัดทอนจนเกินควรแล้วก็ตาม แต่ไม่ว่าใครก็ตามถ้าได้เห็นขนาด และ ไม่ได้ ชอบมากๆมาก่อน ก็คงทำให้หวั่นใจได้เล็กๆ เหมือนผม

แต่หลังจากอ่านไปได้ 1 บท เล็กๆ ติดทันที คือ สนุกกันแต่แรกเลยล่ะ ว่างั้น นิยายบางเรื่องที่ผมเคยอ่านจะเป็นเครื่องดีเซล บ้างเครื่องเบนซิน หรือ บางเรื่องหนัก ขนาดเป็นเรือเกลือ ก้อมี แต่ เรื่องนี้ผมรู้สึกเหมือน ค่อยๆเดินแล้วเปลี่ยนเป็นวิ่งแล้วเปลี่ยนเป็นยานพาหนะ ไปเรื่อยๆ คือความสนุกและน่าติดตาม ไม่ได้ลดลงเลย
ผมอ่านในคำชมตอนแรกๆ ก็มีหลายคนว่าเหมือนกันว่า ถ้าท่านอ่านแบบต้นฉบับเดิมๆที่เป็นสันสกฤตจริงๆ ท่านอาจจะหลับคาไปซะก่อน แล้วอีกอย่างฉบับเดิมแท้ๆ ยังแปลเป็นภาษาอังกฤษ ยังไม่เสร็จเลย เพราะเนื่องด้วย เนื้อหาเยอะมาก

เรื่องนี้ประกอบไปด้วยเล่มย่อยๆ 7 เล่ม หรือ 7 กัณฑ์ โดยเริ่มต้นด้วยตอนจบแล้วเล่าย้อนอีกที ซึ่งผมว่าทันสมัยนะ คือไม่รู้ว่าแบบเดิม เป็นอย่างนี้หรือเปล่า โดยเริ่มเรื่องให้ผู้แต่ง มหากวีวาลมีกิ เนี่ยแหละครับเป็นผู้รจนา

อันหนึ่งที่ผมพึ่งรู้ก้อ พระรามมีพระวรกายเป็นสีน้ำเงินเข้ม (ไม่รู้เท่ห์ตรงไหนเหมือนกัน....เพราะในรามายณะจะว่าเท่ห์สุดๆ) เพราะภาพที่วัดพระแก้ว จะมีพระวรกายเป็นสีเขียว แต่ที่แน่ๆคือ หลังจากอ่านเสร็จ ภาพของ
ทศกัณฑ์ ในความคิดผมออกไปทาง ผู้ชายแอฟริกัน เท่ห์ๆ ตัวใหญ่กล้ามโตแต่มีเขี้ยว มากกว่าจะเป็นอย่างที่รับรู้กัน ที่เป็นอย่างนี้ก้อเพราะอะไรนั้น ผมว่าต้องลองไปอ่านดูครับ อันนี้ผมจินตนาการจากคำบรรยายเป็นหลักนะครับ

กัณฑ์ ที่ยาวที่สุด ผมเห็นอยู่ 2 กัณฑ์ คือ ยุทธกัณฑ์ ซึ่งว่าด้วยเรื่องการรบล้วนๆ ผมว่ามีหลายๆตอนซึ่งเราคงรับทราบกันมาก่อนแล้ว กับ อุดรกัณฑ์ ซึ่งจะเป็นเรื่อง ที่มหาฤษี เล่าเรื่องต่างๆให้พระรามฟัง รวมถึงเหตุการ์ณหลังจาก เสร็จศึกลงกา จนถึง พระรามละ สังขาร ซึ่งผมว่ามีความแปลกใหม่และน่าสนใจมาก คือ เผอิญว่า ก่อนหน้านี้ผมเคยอ่าน หนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยว เทพเจ้าในศาสนาฮินดู แต่ก้อยังไม่เข้าใจมากนักถึงที่มาที่ไป พออ่าน กัณฑ์นี้เสร็จ ผมถึงบางอ้อ ทันที

หลายๆตอน เปลี่ยนความคิดผมไป จากที่เคยรู้สึกว่า ตัวเอกหลายตัวใน รามายณะ เป็นเหมือนเด็กมีเส้น คือ ได้อิทธิฤทธิ์หลายอย่างมาเพราะพ่อหรือแม่ หรือตา หรือปู่ เป็นใหญ่ แต่ปรากฎว่าส่วนใหญ่นอกจาก ต้นตระกูลดีแล้วยังต้อง ภาวนาหนักด้วย หรือ ทำงานหนักด้วยนั่นเอง ในกรณีนี้ก้อเช่นทศกัณฑ์ ที่บูชาพระพรหมจน พระพรหมให้พร ที่ชนชั้นสูงทุกชน ไม่สามารถฆ่าได้ ยกเว้นพวก มนุษย์กับ ลิง เพราะ พี่แกดูถูกเหลือเกิน หรือ ความคิดในแง่ของวรรณะ ก็พึ่งจะเข้าใจว่าทำไมคนถึงเชื่อเหลือเกิน เพราะมีอยู่ตอนหนึ่งผมออกจะงงๆ คือถ้าเราใช้วิธีการคิดในแบบปัจจุบันนะครับ ผมว่าคร่าวๆแล้วกัน คือพระรามไปสังหารคนๆหนึ่งด้วยการร้องขอ จาก ฤษี ประเด็นคือ ผมว่าการฆ่ากัน อย่างไรมันก้อทำให้ถูกไปมิได้ ไม่ว่าใครจะร้องขอก้อตาม แต่พอมีเรื่องวรรณะเข้ามาเกี่ยวข้อง ผมถึงเข้าใจแต่ไม่เห็นด้วยเท่าไหร่นัก

หรือตอน พระรามช่วย สุครีพ ฆ่าพาลี ก้อเหมือนกัน คือ ด้วยวิธีคิดแบบปัจจุบัน อาจทำให้ไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าที่ควร แต่ เรื่องหลักๆและแนวความคิดหลักๆ ผมคิดว่า ยังคงใช้ได้และเป็นจริงเสมอ แม้ในปัจจุบัน ถึง มหาวรรณกรรมนี้จะผ่านมา ประมาณ 2300 ปีแล้วก้อตาม

1 ความคิดเห็น:

  1. น่าจะอายุมากกว่านั้นครับ
    อาจจะราวๆเดียวกับศาสนาฮินดู
    เคยได้ยินว่าเป็นนวนิยายเล่มแรกของโลกด้วย

    ตอบลบ