วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

The Corporation - Joel Bakan

The Corporation - Joel Bakan
บรรษัท - ภัควดี วีระภาสพงษ์


ต้นฉบับเขียนเมื่อ Oct 26 2008, 06:10 PM

หากจะทำความรู้จักกับระบบ หรือ ระบอบ เศรษฐกิจทุนนิยมอย่างถึงแก่นก้อต้องลองอ่านเล่มนี้ดู
อันหนึ่งที่ผมเห็นในตอนต้นๆของหนังสือคือ เราหลงกับ brand มากเกินไปรึเปล่า brand ในที่นี้ผมมองว่ามันครอบคลุม
ในแง่ของเปลือกทั้งหมด / แน่นอนในแง่ธุรกิจและการดำเนินชีวิตปัจจุบัน ถูก brand ครอบงำ brand คืออะไร มันคือ สิ่งใดก้อตามที่เราอยากให้สะท้อนความเป็นเรา ที่เราอยากให้คนอื่นรับรู้ เช่น ในหนังสือ เล่มนี้พูดในตอนต้นเรื่องในแง่ที่ บรรษัทนั้นไม่มีชีวิต แต่ถูกทำให้เหมือนมีชีวิต เพื่อจะได้ใช้สิทธิต่างๆให้เหมือนคนปกติ เรารู้อยู่แล้วว่า บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางประเภท เป็นนิติบุคคล ซึ่ง แปลว่า บุคคลในทางกฎหมาย legally person แต่มันไม่ใช่คนจริงๆ
(แต่มันฟ้องร้อง ครอบครองที่ดิน-ทรัพย์สิน กู้ยืม และเป็นหนี้เหมือนคนทั่วไปทำได้) ในยุคหนึ่ง คนจริงๆเลยรู้สึกกลัว บรรษัท(ในแง่กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่) หรือ บริษัท ในแง่ที่ เพราะมันไม่มีชีวิตจิตใจ คนเชื่อว่ามันหวังเพียงผลประโยชน์ ยุคนั้น โฆษณา ประชาสัมพันธ์ของเหล่า บริษัท จึงเริ่มมีคนเข้ามาเกี่ยวข้อง อาจจะเป็นพนักงานที่ใส่เสื้อของบริษัท (คุ้นๆไหม) หรือ มาสคอต ที่เป็นสิ่งมีชีวิต เพื่อแสดงว่า บริษัทนั้นมีชีวิตจิตใจ ทำเพื่อสังคม

จริงๆ ผมว่าเราอาจเติมลงใน เช่น...ต่อท้ายได้หลายกรณี ในแง่ของการสร้าง brand ให้มีชีวิตจิตใจ แต่เป็นกับบุคคลแทน
ทั้งเรื่องฮิตเลอร์, ผู้นำการประท้วง, จิม โจนส์(ไม่รู้มีไครู้จักปล่าว เขาคือ เจ้าลัทธิในอเมริกาที่ถูกขนานนามให้เป็น ฆาตกรโรคจิตยุคใหม่
โดยให้คนในลัทธิที่หลอกพากันไปอยู่ใน แอฟริกา หรือ คาริปเบียน ซักที่ กิน ไซยาไนน์ ฆ่าตัวตายทั้งหมู่บ้าน) พวกเขาเหล่านี้ สร้าง brand
ของตัวเองขึ้นมาให้ดูเป็นคนดี น่านับถือ จิตใจงาม ทำเพื่อคนหมู่มาก ต่อต้านระบบบางอย่างเป็นต้น ปีศาจในคราบเปลือกที่สวยงาม เหมือนยาพิษเคลือบน้ำตาล เราอาจพูดได้

เฉกเช่นในระบบทุนนิยมทั่วไป บรรษัทเกิดมาเพื่อรับใช้ผู้ถือหุ้น ไม่ใช่รับใช้สังคม ในหนังสือเล่มนี้ พยายามยกตัวอย่างให้เราดูว่า บรรษัทสมัยใหม่
พยายามสร้างภาพลักษณ์ในแง่สังคมมากชึ้นเพียงใด แต่แน่นอน ดีกับการตลาดของ บรรษัทด้วย และ เราควรมีส่วนอย่างไรในบทบาทนี้ ซึ่งการรู้เท่าทันจำเป็นอย่างยิ่ง

ในเล่มนี้มีการยกตัวอย่างเจ็บๆหลายอันจำพวกวีรเวรทั้งหลายของบรรษัท ทั้ง โรงงานนรก, แผนโค่นประธานาธิบดี(อ่านไม่ผิดครับ จริงเลยล่ะ)

แต่พออ่านเสร็จผมกลับเห็นภาพในมุมต่างเพิ่มออกไปอีกผมได้ ความรู้ใหม่ในด้าน brand / บริษัท / คน ในชีวิตประจำวันเราชอบเจอคำนี้พวกนี้อยู่บ่อยๆ
"ผมต้องการอาคารที่สะท้อนบุคคลิกของบริษัทออกมา"
"ลานกว้างหน้าอาคาร อย่างนี้สะท้อนภาพลักษณ์ขององค์กร"
"ผม/ดิฉัน เป็นคนดีเพราะใช้ผลิตภัณฑ์สีเขียว"
"เสื้อผ้านี้สะท้อนความเป็นตัวคุณ"
................................................เป็นต้น แค่ยกขึ้นมาเฉยๆ

ประโยคนี้น่าสนใจในแง่ที่ว่าอธิบายปรากฎการ์ณหลายอย่างในตอนนี้ได้ ทั้งเรื่อง พิษเศรษฐกิจจากอเมริกา หรือ เรื่องของบ้านเราเอง
"ในระบอบประชาธิปไตย อย่างน้อยที่สุด คนแต่ละคนก็เท่าเทียมกันตามหลักการ" อีเลน เบอร์นาร์ด นักเศรษฐศาสตร์การเมือง
ซึ่งแน่นอน ไม่ใช่เพราะใครมีเงินหรือการศึกษามากกว่า จึงมีเสียงมากกว่า อย่างเช่นในอเมริกา การยึดถือหลักในแง่ 1 เสียง เท่ากับ 1 ดอลล่าห์ จึงทำให้
ตลาดทุน ตลาดเงินมีปัญหาดังเช่นทุกวันนี้ เพราะมันผลักภาระ ไปที่คนส่วนมากผู้ไม่มีทุนเพียงพอ ธุระกรรมที่ซับซ้อนเกิดได้ เพราะผู้มีทุนจะเปลี่ยนนโยบาย
ในบ้านเรา การยึดถือหลักในแง่ 1 การศึกษา เท่ากับ 1 เสียง จึงทำให้ การเมืองในบ้านเรามีปัญหาเช่นทุกวันนี้ เพราะมันผลักภาระไปหาผู้ไร้การศึกษาว่าไม่มี
ความรู้เพียงพอ การเมืองที่บิดเบือนเกิดได้ เพราะ................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น