วันพุธที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2553

Small is Beautiful - E.F.Schumacher


Small is Beautiful - E.F.Schumacher
เล็กนั้นงาม - กษิร ชีพเป็นสุข แปล

สนพ.มูลนิธิเด็ก

ต้นฉบับเขียนเมื่อ Mar 25 2009, 11:09 PM

ในยุคสมัยที่ เศรษฐกิจโลกอ่อนแรง รวมทั้ง เศรษฐกิจไทยร้องหาความพอเพียง แต่ภาครัฐและเอกชนต่างรู้ว่า ต้องให้คนใช้จ่าย เพราะถ้าทุกคนไม่มีความมั่นใจ ไม่ใช้จ่าย ต่างคนต่างเก็บแบบพอเพียง(ถ้าท่านดูการให้สัมภาษณ์ของพนักงานอ๊อฟฟิคหลายคน ความเข้าใจของเค้าเหล่านั้นคือ อย่าใช้ ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดอย่างร้ายแรง มันอยู่ที่ใช้อย่างไรมากกว่า)เศรษฐกิจในภาครวมก็จะน๊อคได้ แล้วเราควรทำอย่างไร หมายถึงจ่ายอย่างไร จ่ายอะไร หรือ ไม่จ่ายอะไร และคำตอบนั้นบางทีอาจอยู่ในสายลม เพราะมาตรฐานแต่ละคนไม่เท่ากัน

ทุกคนในภาครัฐล้วนกลัวเรื่องการส่งออก เลยทำให้รัฐบาลยังคงมุ่งหน้าไปหาการส่งออกเพียงอย่างเดียว ตั้งแต่จัดโรดโชว์ จ้างผู้เชี่ยวชาญไปประจำในแต่ละประเทศเพื่อกำหนด ยุทธศาสตร์ในแต่ละประเทศ แต่กลับให้ความสำคัญภายในน้อย ส่วนใหญ่หนักไปทางพูด และประชาสัมพันธ์ มีที่พอไปวัดได้ก็พวกนโยบายอสังหา นอกนั้นยัง เป็นการอ้างว่าต้องแก้ เรื่องเก่าก่อน ซึ่งจริงแค่ ส่วนเดียว เหมือน ไปทำงานวันจันทร์แล้วอ้างว่าต้องแก้ไขงานของวันศุกร์ พอถึงวันอังคาร ก็ต้องทำของวันจันทร์ พอถึงวันพุธ อ้างว่าต้องแก้ของ2วันแรก พอพฤหัส ต้องทบทวนของพุธ พอวันศุกร์ ก้อกลับมาดูภาพรวมของทุกวัน แล้ววนกลับไปใหม่ แม้จะมีการให้เงิน 2000 บาท ต่อคน แต่ก็ยังดูไม่ชัดเจนอยู่ล่าสุดที่เห็น โครงการต้นกล้าอาชีพ ดูดีในแง่หลักการ จริงๆคล้ายโครงการ o-top แต่อันนี้ลงลึกไปที่บุคคลมากขึ้น หวังว่าจะไม่ท่าดีทีเหลวคับ เอาใจช่วย เพราะถ้าสำเร็จผมว่าทั้งระบบจะค่อยๆดีแน่นอน ไม่ต้องหาตลาดข้างนอกเน้นหางานให้คนภายในทำกันให้มากขึ้นแทนน่าจะดีกว่า

ก่อนหน้านี้ผมเคยได้ยินบางคนกล่าวถึงหนังสือนี้กันมาก ด้วยความที่สมัยก่อน เรื่องเศรษฐศาสตร์ ดูเป็นเรื่องไกลตัวเหลือประมาณ ความสนใจจึงน้อยลงไปด้วย มิใยมิต้องนับรวมเรื่อง เศรษฐกิจแบบเน้นความสำคัญที่คน ถึงกับงงเพราะ ใครๆก็สอนกันว่า คนเป็นสัตว์เศรษฐกิจ เน้นผลประโยชน์เป็นหลักใหญ่ ไม่ได้เน้นไปที่เศรษฐกิจแบบรากหญ้าหรือที่บุคคล สิ่งที่หนังสือเล่มนี้กล่าว นั้นเป็นจริงได้แน่นอนแต่ว่าเมื่อไหร่มากกว่า เพราะเฉพาะแค่หนังสือเล่มนี้เอง พิมพ์ขายมาตั้งแต่ปี 1973 พิมพ์ขายในไทยตั้งแต่ปี 2516 บางคนกล่าวว่า หนังสือเล่มนี้คือการจุดกระแสเศรษฐกิจพอเพียงในไทย เพราะในหลวงทรงเอามากล่าวหลังหนังสือเล่มนี้ขาย ประมาณ 1 ปีให้ นศ.ม.เกษตร ฟัง และ หลักทั้งหลายของหนังสือเล่มนี้ถูกนำมากล่าวซ้ำและปฏิบัติกันแพร่หลายในไทย

หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 4 ภาค กล่าวทั้งด้านแนวความคิด วัตถุดิบ การปฏิบัติ และการจัดการ ซึ่งครอบคลุมค่อนข้างมาก ภาควัตถุดิบหรือทรัพยากรน่าจะเป็นอะไรที่เข้าใจและเห็นความสำคัญได้ง่ายที่สุด ทั้ง ทรัพยากรน้ำ น้ำมัน อาหาร หรือ พลังงานทางเลือกอื่นๆ(ซึ่งอันที่กำลังเป็นประเด็นในไทย ก็พลังงานนิวเคลียร์ จริงๆก็เป็นประเด็นทั่วโลกเพราะทั้ง เกาหลีเหนือ หรือ อิหร่านต่างก็พยายามผลักดัน....ซึ่งเราไม่แน่ใจได้เลยว่าเอาไปทำอะไรจริงๆ ฉะนั้นมาดูแนวซักหน่อยก็คงไม่ผิดนัก เห็นภาพแน่นอน)หรือในเรื่องหมวดที่ดินและการจัดการก็น่าสนใจมากเช่นกัน ประโยคหนึ่งในตอนนี้ที่ชอบมากๆคือ "การปรองดองระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติไม่ได้เป็นเพียงแต่สิ่งที่น่าปราถนาอีกต่อไป แต่ได้กลายมาเป็นความจำเป็น" ถ้าอ่านเฉพาะแค่ใน ภาคนี้ภาคเดียวผมว่าเห็นภาพแทบจะทั้งหมด เช่นเมื่อ 30ปีก่อน ประชากรอเมริกันซึ่งนับเป็นร้อยละ 5.6 ของโลก ต้องการทรัพยากรถึงร้อยละ 40 ของโลกเช่นกัน เห็นภาพมาก แล้วเดี๋ยวนี้แหละ

พวกแนวความคิด กองทุนหมู่บ้าน หรือ ผลิตภัณฑ์ประจำตำบล ก็มีให้เห็นในนี้เช่นกัน อ่านแล้วพึ่งถึงบางอ้อ เลยทีเดียว ซับซ้อนแต่ไม่ยากแน่นอน แต่อยู่ที่การจัดการเป็นหลัก

อันหนึ่งที่พออ่านเสร็จแล้วเห็นภาพอย่างหนึ่งคือ เรื่องของหนี้ครัวเรือน จริงๆแล้วปัญหาหลักอย่างหนึ่งของเกษตรพอเพียง หรือ เกษตรแนวใหม่ ก็คือหนี้ นี่แหละครับ หมายถึงหนี้ครัวเรือนส่วนบุคคลที่กู้กันมา ไม่ว่าจะเป็นกู้เพื่อซื้อวัตถุดิบ พวกพันธุ์พืช หรือ การจัดการอื่นๆก็แล้วแต่ เพราะท่านไม่สามารถพอเพียงได้ ถ้าท่านยังมีหนี้ติดหลังก้อนโต เพราะเกษตรพอเพียงหรือเกษตรแนวใหม่เน้นให้ท่านเลี้ยงตัวเองได้ แบบพออยู่พอกิน อาจเหลือบางนิดหน่อย เห็นได้เลยว่าแม้ปัจจุบัน เกณฑ์การรับ เกษตรกรเพื่อเข้าโครงการ เกษตรแนวใหม่
ยังเข้มงวดอยู่เพราะ เรื่องพวกนี้แหละ เพราะไม่ใช่แค่หนี้ แต่ วินัย คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในการปลดหนี้ และ ทำให้ตัวเองพอเพียงได้ / จะทำยังไงไม่ให้อิจฉาเพื่อนบ้านที่ส่งลูกไปเรียนหนังสือโรงเรียนดีๆ แพงๆได้ หรือ ซื้อมอเตอร์ไซด์, โทรศัพท์มือถือซักเครื่อง, รถปิคอัพซักคันได้ ฯลฯ เพราะเราเห็นของพวกนี้อยู่เสมอ จนเราเองบางครั้งไม่แน่ใจว่าอะไรจำเป็นอะไรไม่จำเป็น /

ผมเองแค่คิดเล่นๆว่า ถ้า เอามารวมๆกัน เป็นชุมชนแล้วโอนหนี้ทั้งหมดเป็นส่วนรวม แถมด้วยหลัก วินัยทางการเงิน แบบธนาคารคนจนในบังคลาเทศ จะไปไหวไหมกับสังคมไทย แล้วยังต้องเน้นหาตลาดในสินค้าชุมชนบางตัวแบบจริงจังกว่านี้อีกนิด ไม่ใช่ผลิตแล้วไม่มีคนเอา / เน้นเป็นพื้นที่ไปเลยดีไหม เพื่อผลิตแบบองค์รวมไม่ใช่ แค่แต่ละชุมชนแค่อยู่กันเองได้ แล้วทิ้งชุมชนอื่นไป........แค่คิดจริงๆๆ(บอกก่อนเลยว่า ไม่เคยเชื่อว่าเรื่องพวกนี้ต้องแค่นักการเมืองเท่านั้นที่ทำได้)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น